ระบบการผลิต


ระบบการผลิต

ขั้นตอนที่ 1 ค้นหาระบบที่ต้องการพัฒนา

     หน้าที่ของฝ่ายผลิตคือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสถานที่ผลิต เช่น โรงงาน สถานที่ โดยการผลิตนั้นจะแบ่งเป็นขั้นตอน เช่น การจัดลำดับงาน  ระดับสินค้าคงคลัง รวมถึงการควบคุมคุณภาพของสินค้าที่ทำโดยการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด  หรือสุ่มตัวอย่าง

ปัญหาของฝ่ายผลิต

    1. มีของเสียในกระบวนการผลิตมาก
    2. แต่ละฝ่ายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การติดต่อแต่ละฝ่ายไม่ราบรื่น
    3. มาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน
    4. มีปริมาณของในกระบวนการผลิตสูงขึ้น
    5. มีการส่งวัตถุดิบช้าเมื่อเกิดความล่าช้า ไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบ


การเสนอแนวทางเลือก ในการนำระบบพัฒนาระบบการผลิตมาใช้งาน
      เราพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือ งานไม่สามารถดำเนินไปตามแผนที่กำหนด ไม่ทราบความคืบหน้าของงาน แล้วยังตรวจสอบได้อีกด้วยว่ามาตรฐานในการทำงานไม่ชัดเจน จึงอาจเกิดความล้าช้าของงานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้น  เพื่อลดปัญหาต่างๆลง ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบใหม่ขึ้นทางทีมงานได้รวมรวบข้อมูลจากผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผู้บริหารจากนั้นจึงได้จำลองขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่นำเสนอให้ผู้บริหารและผู้ใช้ระบบเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและนำมาแก้ไขให้ตรงตามความต้องการ โดยมีแนวทางเลือกในการพัฒนาโครงการ 2 แนวทางคือ
     1.จัดซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
     2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ


การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน


การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
   ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้


สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
       สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ Software A มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุ

ทางเลือกที่ 2  ว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ มีรายละเอียดดังตาราง



การประเมินแนวทางเลือกที่ 2

    ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้

น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
ซึ่งผลจากการประเมิน โดยการให้น้ำหนักหรือคะแนนของทีมงาน ปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้



สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2


       สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและว่าจ้างบริษัท มาติดตั้งระบบ เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด


ข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้ง 2 แนวทาง



แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จระบบ A
ข้อดี  ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ได้จัดทำไว้ราคามาต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย ระบบไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบองค์กรใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานนาน

แนวทางเลือกที่ 2 การจ้างบริษัท A เพื่อพัฒนาระบบ
ข้อดี ระบบมีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการของบริษัทที่ระบบยังมีความยืดหยุ่นในปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบองค์กรสามารถพัฒนาไปยังอนาคตข้างหน้าได้ใช้ระยะเวลาติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานน้อย
ข้อเสีย    ราค่าต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบค่อนข้างสูง


ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด

             หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้




สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร

  ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางใช้การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและมีความคุ้มค่าในการลงทุน



ขั้นตอนที่ การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ





เป้าหมาย
     นำระบบการผลิตมาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าเสมือนลูกค้าเป็นพี่น้องของเราและใช้เป็นระบบที่ใช้ในการขายสินค้า

วัตถุประสงค์
       เพื่อนำระบบใหม่มาแก้ไขปัญหาต่างๆให้มากที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และความทันสมัยของระบบเพื่อนทันต่อการใช้งานรวมไปถึงตรวจสอบสินค้าให้ได้มาตรฐาน ถูกต้อง ว่องไวตรงตามความต้องการ และพัฒนาให้เป็นระบบงานผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้  ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ

ขอบเขตของระบบ
    โครงการพัฒนาระบบการผลิตได้มีการจัดทำขึ้นโดย ใช้ทีมงานเดิมพัฒนาและติดตั้งระบบมารับผิดชอบโครงการ พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  •     ระบบสามารถตรวจสอบการซื้อขายสินค้าได้
  •     ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ  Multi-User  ได้
  •      ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
  •      ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน  แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
  •      ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
  •      ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
  •      ระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้

ปัญหาที่พบจากระบบเดิม

  •        ข้อมูลมีความแตกต่าง  เนื่องจากในการให้ข้อมูลของลูกค้าแต่ละครั้งมีความเปลี่ยนแปลง
  •       เป้าหมายของบริษัทไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
  •        การเก็บรวบรวมข้อมูลการผลิต และการค้นหาข้อมูลของสินค้าเกิดความซ้ำซ้อน
  •        ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
  •        เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูลเกิดความเสียหายและสูญหายได้
  •       ยากต่อการหาข้อมูล
  •       การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน

ความต้องการในระบบใหม่

  •        ความรวดเร็วของระบบใหม่ในการทำงาน
  •        สามารถเก็บ  และตรวจสอบข้อมูลการผลิตสินค้าได้
  •        สามารถเพิ่ม แก้ไข  เปลี่ยนแปลงข้อมูลของการผลิตและข้อมูลสินค้าได้
  •        สามารตรวจเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการจองได้

ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่

  •        ลดความซ้ำซ้อนกันของการทำงาน
  •        ลดระยะเวลาในการทำงาน
  •        ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำและไม่ซ้ำซ้อน
  •        การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  •        สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

แนวทางในการพัฒนา
            การพัฒนาระบบ เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการผลิตและในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น ผลิตสินค้า การตรวจสอบการผลิตสินค้า ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน  ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำงาน   เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้ทั้งหมด  7 ขั้นตอน                  

  1.   การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
  2.  การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
  3.  การวิเคราะห์ระบบ
  4.   การออกแบบเชิงตรรกะ
  5.   การออกแบบเชิงกายภาพ
  6.   การพัฒนาและติดตั้งระบบ
  7.   การซ่อมบำรุงระบบ

ขั้นตอนที่  1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
            เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการระบบเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
             ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัทสวีทตี้ ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
·       การผลิตสินค้า
·       การตรวจสอบการผลิตสินค้าที่ลูกค้าต้องการสั่ง
·       การจัดเก็บข้อมูลของสินค้าและข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า

ขั้นตอนที่  2  การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
              เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน    ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้างแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้นตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
·       เริ่มต้นทำโครงการ ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
·       กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
·       วางแผนการทำงานของระบบใหม่

ขั้นตอนที่  3  การวิเคราะห์

  1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิมดูว่าการทำงานของบริษัทมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบเดิมและระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งจองสินค้า
  2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
  3. จำลองแบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้วก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่  4  การออกแบบเชิงตรรกะ
        เป็นการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนกของงาน  ซึ่งในการออกแบบระบบระบบงานที่ได้ในแต่ละงานจะไม่เหมือนกันซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ระบบงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ขั้นตอนที่  5  การออกแบบเชิงกายภาพ
       ในขั้นตอนนี้เป็นการทำงานของระบบในส่วนของเทคนิคของโปรแกรมหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงระบบอาจจะเป็นระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  โปรแกรมสำเร็จรูป  เพื่อให้ผู้ใช้งานระบบสามารถเข้าใจขั้นตอนการทำงานมากขึ้น และมีความรวดเร็ว  ซึ่งสิ่งที่ได้ในส่วนนี้จะเป็นแค่การออกแบบหลังจากนั้นจะทำการส่งให้โปรแกรมเมอร์ต่อไป

ขั้นตอนที่   6   การพัฒนาและติดตั้งระบบ
          ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียนโปรแกรม  เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่  อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หรือจัดทำโปรแกรมขึ้นมาเอง แต่อาจจะมีความยุ่งยากไปหน่อย  หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับการทำงานของบริษัทหรือไม่  ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
                1. เขียนโปรแกรม
                2. ทดสอบโปรแกรม
                3. ติดตั้งระบบ
                4. จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ

ขั้นตอนที่   7   การซ่อมบำรุงระบบ
       อาจจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ  เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว  เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาด

แผนการดำเนินงานของโครงการ
            แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง  คือ ระบบการผลิตสินค้า  และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
            -  ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
            -  ประมาณการใช้ทรัพยากรในการผลิต
            -  ประมาณการใช้งบประมาณ
            -  ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน

1. ทีมงานรับผิดชอบโครงการ
         ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการที่จะได้รับมอบหมาย คือ บุคลากรแผนกคอมพิวเตอร์ทั้ง  2 คน จะดำรงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้

  •  นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ทำหน้าที่ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ตลอดจนเก็บรวบรวมข้อมูลและติดต่อประสานงานระหว่างผู้ใช้กับทีมโปรแกรมเมอร์ จัดทำเอกสารของระบบ ทดสอบโปรแกรมของระบบ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  •   โปรแกรมเมอร์ ทำหน้าที่ในการเขียนและติดตั้งโปรแกรมของระบบ รวมทั้งทดสอบโปรแกรมและพัฒนาตัวต้นแบบเพื่อสอบถามความคิดเห็นและผลการตอบรับจากผู้ใช้ระบบ

2. ประมาณการใช้แหล่งทรัพยากร
        ปัจจุบันทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN อยู่แล้วมีรายละเอียดต่อไปนี้
        1.เครื่องแม่ข่าย server จำนวน 1 เครื่อง
        2.เครื่องลูกข่าย (Workstation) จำนวน20 เครื่อง
        3.เครื่องพิมพ์ (Printer) 6เครื่อง
        4. อุปกรณ์ต่อพวง ชุด (ตามความเหมาะสม)



สรุปแล้วงบประมาณที่ใช้พอสรุปในของแต่ละฝ่ายได้ดังนี้

1.ผู้จัดการ
ค่าตอบแทนสำหรับทีมงานพัฒนา
 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบโปรแกรมเมอร์                                     100,000                                 บาท
2.พนักงาน
 ฝึกอบรมพนักงานและผู้บริหาร 10 คน                                                  2,000                                     บาท
 วันฝึกอบรมผู้ดูแลระบบ                                                                        1,000                                     บาท
3.จัดชื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์:
   เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็น workstation                                          70,500                                   บาท    อื่นๆ                                                                                                   15,000                                    บาท
4.ค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินงาน
   ค่าบำรุงระบบ                                                                                     65,000                                   บาท
  จัดชื่อเก็บข้อมูลสำรอง                                                                       2,500                                     บาท
   รวม                                                                                                    256,000                                 บาท

ประมาณการระยะเวลาดำเนินงาน
       ระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระบบการขาย จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2557 เป็นระยะเวลาในการดำเนินงานของการพัฒนาระบบการผลิตของบริษัท

ระยะเวลาดำเนินงาน
          จำนวนชั่วโมงจริงในการทำงานในแต่ละวัน หรือส่วนหนึ่งของการประมาณระยะเวลาที่กำหนดไว้ นั่นคือ 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่รวมช่วงพักเที่ยง เฉพาะวันทำการ คือวันจันทร์-ศุกร์ ไม่นับวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันเสาร์-อาทิตย์

รายงานสรุปผลสำหรับผู้บริหาร
          จากการที่ได้ศึกษาโครงการส่งเสริมการขายปัญหาที่พบในระบบ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบริษัท ลูกค้า และอาจจะส่งผลต่อการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน ในด้านการบริการ และทางระบบสารสนเทศ ทางบริษัทจึงต้องจัดทำแผนพัฒนาระบบใหม่ขึ้น เพื่อที่จะนำไปพัฒนา
                           






ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดความต้องการของระบบ


         เมื่อโครงการพัฒนา ระบบรายรับ-รายจ่าย ได้รับการอนุมัติจากการนำเสนอโครงการในขั้นตอนที่ผ่านมา ดังนั้น จึงเริ่มต้นด้วยความการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาจากระบบเดิม ในการกำหนดความต้องการครั้งนี้ ทีมงานเลือกใช้วิธีการสังเกตการณ์โดยสังเกตการณ์แบบไม่รู้ตัวออกสังเกตการณ์

ออกแบบสอบถาม (Questionnaire)   บุคคล ที่ตอบแบบสอบถาม คือ  ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ การใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนที่ต้องการพัฒนา  เนื่องจากทีมงานสามารถควบคุมหัวข้อคำถามที่ต้องการรายละเอียดได้มากกว่าการ สัมภาษณ์  ไม่ต้องมีการจดบันทึก  ดังเช่น  วิธีการสัมภาษณ์  ซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก  ไม่รวบกวนเวลาของผู้จัดการมากนัก  สามารถเก็บข้อมูลได้มาก  ตามการตั้งคำถามในแบบสอบถามอีกทั้งผู้ตอบแบบสอบถามจะรู้สึกมีอิสระในการให้ ข้อมูลดังตัวอย่าง

ตัวอย่างแบบสอบถาม


จากการที่ทีมงานได้เก็บรวบรวมข้อมูลของระบบเดิม ด้วยวิธีการออกแบบสอบถาม สามารถสรุปข้อมูลที่ได้รับดังนี้
          1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม
          2. ความต้องการในระบบใหม่
          3. ตัวอย่างเอกสาร แบบฟอร์ม และรายงายของระบบเดิม

1. ข้อมูลระบบคอมพิวเตอร์ของระบบเดิม ทางบริษัทใช้ระบบเครือข่าย LAN ประกอบด้วย
          1.1 เครื่องแม่ข่าย จำนวน เครื่อง ใช้ซอฟต์แวร์เครือข่าย Windows  Server 2007
          1.2 เครื่องลูกข่าย จำนวน 20 เครื่อง ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP 5 เครื่อง Windows7 15 เครื่อง และซอฟต์แวร์สำเร็จรูป

  •   แผนกการขายใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel 2007 ในการคำนวณยอดขายสินค้าของแต่ละวัน
  •    แผนกบัญชีใช้ซอฟต์แวร์สำหรับงานบัญชี AccStar และใช้Microsoft Excel 2007 สำหรับคำนวณเงินยอดการสั่งซื้อ สั่งเบิกสินค้า
  •    แผนกฝ่ายบุคคล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CRM ในการคิดคำนวณเงินเดือนของพนักงาน
  •    แผนกคลังสินค้า ใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการคำนวณยอดการเบิกจ่ายของมาใช้ และจำนวนของในสต็อกสินค้า พร้อมพิมพ์รายการสั่งซื้อ
  •     แผนกประชาสัมพันธ์ ใช้ซอฟแวร์ Microsoft Power Point 2007 ในการประชามสัมพันธ์ ข้อมูลข่าวสาร
  •    แผนกผลิตสินค้าใช้ซอฟต์แวร์Microsoft Excel 2007ในการเช็คสินค้าที่จะใช้ผลิตและพิมพ์รายการสินค้าที่ผลิตแล้ว
  •    แผนกควบคุมคุณภาพใช้ซอฟต์แวร์Microsoft word 2007 ในการพิมพ์รายการตรวจสอบคุณภาพ
          1.3 อุปกรณ์ต่อพ่วง ได้แก่ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จำนวน 3 เครื่อง เครื่องพิมพ์อิงค์เซท 2 เครื่องเครื่องถ่ายเอกสาร 1 เครื่อง
          1.4  อุปกรณ์อื่นๆ ตัวปล่อยสัญญาณ Wi-Fi จำนวน ชุด

2. ความต้องการในระบบใหม่
          2.1 สามารถสั่งซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
          2.2 สามารถเพิ่มการสั่งซื้อสินค้าได้ง่าย รวดเร็ว                
          2.3ข้อมูลในระบบสามารถเชื่อมโยงไปยังแผนกอื่นๆได้ แต่จะต้องทำการเข้า Login ก่อน                          2.4สามารถเช็คดูจำนวนสินค้าในสต๊อกได้
          2.5 สามารถค้นหาข้อมูลของลูกค้าได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ความต้องการของผู้ใช้กับระบบงานใหม่
       จากการรวบรวมความต้องการของระบบใหม่ทำให้ทีมงานได้ข้อมูลเพิ่มเติม จึงได้นำมาวิเคราะห์หาขั้นตอนการทำงานของระบบใหม่ตามความต้องการดังนี้
      1. สามารถเรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
      2. สามารถแก้ไข ปรับปรุงข้อมูลได้โดยสะดวก
      3. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
      4. พนักงานทุกฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
      5. มีการใช้งานที่ง่ายไม่สับซ้อน


      6. มีการพิมพ์ใบสั่งซื้อสินค้า








ขั้นตอนที่ 4 แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ

      แบบจำลองขั้นตอนการทำงานของระบบ  ระบบพัฒนาระบบงานบัญชี บริษัท Sweet Dream จำกัด
หลังจากโครงการพัฒนาระบบการขาย ได้รับการอนุมัติแล้ว ทีมงานพัฒนาระบบจึงได้วิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบโดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล ดังนี้



อธิบาย Context Diagram

ลูกค้า
         ลูกค้าจะส่งรายการสินค้าที่ซื้อไปยังระบบ และระบบจะทำการส่งใบเสร็จไปให้ลูกค้า

ตัวแทนขาย
         ตัวแทนชายจะส่งในเสร็จของไปยังระบบจะทำการส่งข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้าไปให้ตัวแทนขาย

พนังงาน
         พนักงาน จะส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ และระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลพนักงานไปให้พนักงานพนักงานจะส่งข้อมูลลูกค้า ไปยังระบบและระบบจะทำการส่งรายงานลูกค้าไปให้ พนักงาน พนักงานจะส่งข้อมูลสินค้าไปยังระบบและระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลสินค้าคงเหลือไปให้พนักงา    

ผู้จัดการ
        ผู้จัดการส่งยอดขายสินค้าไปยังระบบและระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลที่สั่งซื้อสินค้าและรายงานยอดขายสินค้าไปให้ผู้จัดการ

DFD Level 0



อธิบาย Level 0
      1.   ระบบข้อมูล
      2.   ระบบขายสินค้า
      3.   ระบบจัดทำรายงาน
      4.   ระบบสั่งซื้อสินค้า

1. ระบบข้อมูลพนักงาน


      พนักงาน ส่งข้อมูลสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลพนักงานไปยังระบบ ระบบก็จะทำการส่งข้อมูลลูกค้าไปยังแฟ้มลูกค้าและแฟ้มลูกค้าจะทำการเก็บ ข้อมูลลูกค้าไว้ในระบบข้อมูล ระบบข้อมูลจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังแฟ้มพนักงานและแฟ้มพนักงานจะทำการเก็บ ข้อมูลพนักงานไว้ในระบบ ระบบข้อมูลจะทำการส่งข้อมูลประเภทไปยังแฟ้มประเภท และแฟ้มประเภทจะทำการเก็บข้อมูลประเภทไว้ในระบบ ระบบข้อมูลจะทำการส่งข้อมูลสินค้าไปยังแฟ้มสินค้าและแฟ้มสินค้าจะทำการเก็บ ข้อมูลสินค้าไว้ในระบบ


2.ระบบขายสินค้า


    แฟ้มลูกค้าทำการส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบ แฟ้มพนักงานส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ แฟ้มประเภทส่งข้อมูลประเภทไปยังระบบ แฟ้มสินค้าทำการส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบ ระบบจะทำการเก็บข้อมูลสินค้าไว้ในแฟ้มสินค้า


ลูกค้า 
         ลูกค้าส่งรายการสินค้าที่ซื้อไปยังระบบ ระบบจะทำการจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดการขายไปยังแฟ้มรายละเอียดการขาย ระบบจะทำการจัดเก็บข้อมูลการขายสินค้าไปยังแฟ้มใบเสร็จรับเงิน


3.ระบบจัดทำรายงาน


      แฟ้มลูกค้าจะส่งข้อมูลลูกค้าไปยังระบบ แฟ้มพนักงานจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ แฟ้มประเภทจะส่งข้อมูลประเภทไปยังระบบ แฟ้มสินค้าจะส่งข้อมูลสินค้าไปยังระบบ แฟ้มใบเสร็จรับเงินจะส่งข้อมูลการขายสินค้าไปยังระบบ แฟ้มรายละเอียดการขายจะส่งข้อมูลรายละเอียดการขายไปยังระบบ ระบบจะทำการส่งใบเสร็จรับเงินไปยังลูกค้าและลูกค้าจะทำการส่งใบเสร็จรับเงิน ไปยังระบบ ระบบจะส่งรายงานข้อมูลสั่งซื้อและรายงานยอดขายสินค้าไปยังผู้บริการและผู้ บริหารก็จะทำการส่งยอดขายสินค้าไปยังระบบ ระบบจะทำการส่งรายงานข้อมูลพนักงาน รายงานสินค้าคงเหลือและรายงานข้อมูลลูกค้าไปยังพนักงาน


4.ระบบสั่งซื้อสินค้า


      แฟ้ม พนักงานจะส่งข้อมูลพนักงานไปยังระบบ แฟ้มตัวแทนขายจะส่งข้อมูลผู้จำหน่ายไปยังระบบ ตัวแทนขายจะส่งใบสั่งของไปยังระบบและระบบจะทำการส่งข้อมูลใบสั่งซื้อสินค้า ไปให้ตัวแทนขาย ระบบจะส่งข้อมูลไปยังแฟ้มสินค้าส่งข้อมูลสั่งซื้อไปยังแฟ้มสั่งซื้อสินค้า ส่งรายละเอียดการสั่งซื้อไปยังแฟ้มร้ายละเอียดการสั่งซื้อสินค้า แฟ้มสั่งซื้อสินค้าจะส่งข้อมูลการสั่งซื้อไปยังระบบจัดทำรายงาน แฟ้มรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าจะส่งรายละเอียดการสั่งซื้อไปยังระบบจัดทำ รายงาน

อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  1




อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  1     
   1. ตรวจสอบความถูกต้อง
   2. แสดงข้อมูล
   3. บันทึกข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบ


    เป็นขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดยจะทำการดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มข้อมูลลูกค้า ดึงข้อมูลพนักงานจากแฟ้มพนักงาน ดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้า เพื่อนำมาประมวลผลความถูกต้องมาขั้นตอนแสดงข้อมูลหลังจากนั้นบันทึกข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบและส่งข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบไปยังพนักงาน

DFD  LEVEL    1  Of  Process  2


อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  2
      1.   ตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการซื้อ
      2.   แสดงรายละเอียดสินค้า
         ขั้นตอนแรกเป็นขั้นตอนการตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการซื้อโดยที่จะทำการดึงข้อมูล สินค้ามาจากแฟ้มสินค้าและราคาส่งสินค้าที่ต้องการซื้อมาตรวจสอบ เมื่อตรวจสอบรายการสินค้าที่ต้องการซื้อก็จะมาแสดงรายละเอียดสินค้าในขั้น ตอนที่สองคือขั้นตอนแสดงรายละเอียดสินค้าหลังจากนั้นจะทำการส่งรายการสินค้า ที่ต้องการซื้อจากขั้นตอนที่สองไปยังลูกค้า

อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  3




อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  3
    1.   ตรวจสอบข้อมูล
    2.   พิมพ์

จะมีขั้นตอนทั้งหมด 2 ขั้นตอน

     ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบข้อมูลโดยทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มสินค้า ดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มลูกค้า ดึงข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าและผู้จัดการส่งยอดขาย สินค้าไปตรวจสอบข้อมูลเมื่อตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดแล้วก็จะทำการพิมพ์ข้อมูลใน
ขั้นตอนที่2 คือขั้นตอนพิมพ์ ขั้นตอนพิมพ์ก็จะดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้า ดึงข้อมูลลูกค้าจากแฟ้มลูกค้า ดึงข้อมูลการสั่งซื้อจากแฟ้มข้อมูล การสั่งซื้อสินค้าและทำการรายงานยอดขายสินค้าที่จะต้องการไปยังผู้จัดการ






อธิบาย DFD  LEVEL    1  Of  Process  4

   1. ตรวจสอบข้อมูล
   2. เลือกรายการสินค้า
   3. รายละเอียดสินค้า
   4. ยืนยันการสั่งซื้อ
   5. บันทึก

   6. พิมพ์


จะมีขั้นตอนทั้งหมด 6 ขั้นตอน


ขั้นตอนที่  1

  ตรวจสอบรหัสใบสั่งซื้อสินค้าโดยจะทำการดึงข้อมูลตัวแทนขายจากแฟ้มตัวแทนขายดึงข้อมูลสินค้าจากแฟ้มสินค้า ตัวแทนขายจะส่งเลขที่ใบสั่งซื้อรหัสพนักงาน มาตรวจสอบ เมื่อทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำมาตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงินใน 


ขั้นตอนที่ 2 
       เมื่อตรวจสอบเงื่อนไขการชำระเงินแล้วก็จะนำมาแสดงรายละเอียดใน 

ขั้นตอนที่ 3 
   โดยขั้นตอนนี้จะทำการดึงข้อมูลรายละเอียดการสั่งซื้อจากแฟ้มรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้า และส่งรายละเอียดการชำระเงินไปยังตัวแทนขาย เมื่อเสร็จแล้วจะทำการยืนยันการสั่งซื้อใน 

ขั้นตอนที่ 4 
    โดยขั้นตอนนี้จะทำการดึงข้อมูลสั่งซื้อสินค้า จากแฟ้มสั่งซื้อสินค้า และตัวแทนขายจะทำการยืนยันการสั่งซื้อ หลังจากนั้นจะมาทำการบันทึกใน 

ขั้นตอนที่ 5 
   โดยขั้นตอนนี้จะทำการบันทึกข้อมูลทั้งหมดไว้ที่แฟ้มรายละเอียดการสั่งซื้อสินค้าจากนั้นจะทำการพิมพ์ใน
ขั้นตอนที่ 6 ขั้นตอนนี้จะทำการพิมพ์ในเสร็จ ใบส่งของไปยังตัวแทนขาย



แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกกับสินค้า (relationship and entity)



1.  ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับการขาย




สมาชิกหนึ่งคนสามารถซื้อสินค้าได้หลายครั้ง

2.  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลระบบกับสมาชิก


ผู้ดูแลระบบหนึ่งคนดูแลสมาชิกได้หลายคน

3.  ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลระบบกับการประกาศข่าว

ผู้ดูแลระบบหนึ่งคนสามารถประกาศข่าวได้หลายข่าว


4.  ความสัมพันธ์ระหว่างการขายกับการรับชำระเงิน



การขายหนึ่งครั้งสามารถได้รับชำระเงินได้หลายครั้ง




จากเงื่อนไขของความสัมพันธ์ข้างต้นนำมากำหนดประเภทความสัมพันธ์ 





ขั้นตอนที่ 5 ออกแบบหน้า User Interface


หน้าต่าง Login เพื่อเข้าสู่ระบบการผลิต


หน้าหลักของโปรแกรม



หน้าต่างขั้นตอนการออกใบสั่งสินค้า

ออกแบบฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลตาราง user เก็บข้อมูลของรายชื่อลูกค้า

ฐานข้อมูลตาราง Acc_order เก็บข้อมูลรายชื่อสินค้าพร้อมรายละเอียดของสินค้า


ฐานข้อมูลตาราง Account _1 เก็บข้อมูลรายการขายสินค้าพร้อมรายละเอียด


ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ

           ทีมงานได้จัดทำ เอกสารคู่มือการใช้งานโปรแกรมของระบบการผลิต เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ระบบสามารถเข้าใจการทำ งานของโปรแกรมมากยิ่งขึ้น โปรแกรมระบบการผลิตเป็นโปรแกรมที่ทำซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่
1. ข้อมูลสินค้าจากแฟ้มข้อมูลสินค้ามาทำการประมวลผลเพื่อตรวจสอบรายการ
2. ประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าหรือรายการที่ลูกค้าต้องการค้นหาให้กับลูกค้า
3. รายการสินค้าเป็นขั้นตอนการเลือกสินค้าที่ต้องการสั่งซื้อ

ขั้นตอนที่ 7 ซ่อมบำรุง

           การซ่อมบำรุงนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้พัฒนาระบบว่าระบบนั้นมีปัญหาอะไรบ้างจะอยู่ในความดูแลของผู้พัฒนาระบบมีการดูแลระบบอย่างต่อเนื่องเมื่อระบบมีปัญหาทางผู้พัฒนาระบบจะทำการซ่อมแซมระบบอย่างรวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น